บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันอังคาร ที่12 กันยายน พ.ศ. 2560
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ได้มีการนำเสนอวิจัย ซึ่งเริ่มเป็นคนแรก เพื่อนได้นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเจรญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
ความแตกต่าง (Variety) เช่น ต้นไม้ต้นเดียวกันแต่แต่ละกิ่งไม่เหมือนกัน
การปรับตัว (Adjustment) เช่น การสร้างบ้านให้เหมาะกับภูมิอากาศ
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutually) เช่น เหาฉลามกับปลา นกเอี้ยงกับควายความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งในโลกต้องปรับตัวให้ตัวเองอยู่รอด เช่น ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์
องค์ประกอบด้านความรู้ (เนื้อหา)
-ความรู้ของธรรมชาติ
-ใช้กระบวนการสืบหาความรู้
-ผ่านการทดสอบและยืนยันว่าเป็นจริงเรียกว่า ทฤษฎี
องค์ประกอบด้านกระบวนการ
องค์ประกอบด้านเจตคติ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จำแนกออกเป็น 5 ประเภท
-ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น น้ำไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ
-มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept) เช่น แมลงคือสัตว์ที่มีขา 6 ขาและลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน
-หลักการ (Principle) เช่น ก๊าซเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว
-กฎ (Law) เช่น น้ำเมื่อเย็นตัวลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาตรของมันจะมากขึ้น
-ทฤษฎี (Theory) รวมทั้ง4ตัวข้างต้นที่กล่าวมา จนกลายเป็นความจริงที่คนทั่วไปยอมรับ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
-ขั้นสังเกต (Observation)
-ขั้นตั้งปัญหา (State Problem)
-ขั้นตั้งสมมติฐาน (Make a Hypothesis)
-ขั้นทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypothesis)
-ขั้นสรุป (Conclusion)
Vocabulary (คำศัพท์)
Adjustment : การปรับตัว
Mutually : การพึ่งพาอาศัยกัน
Equilibrium : ความสมดุล
Fact : ข้อเท็จจริง
Concept : ความคิดรวบยอด
Principle : หลักการ
Theory : ทฤษฎี
Observation : ขั้นสังเกต
State Problem : ขั้นตั้งปัญหา
Make a Hypothesis : ขั้นตั้งสมมติฐาน
Testing Hypothesis : ขั้นทดสอบสมมติฐาน
Conclusion : ขั้นสรุป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น