Red Bobblehead Bunny

Diary no.5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่5 กันยายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

        วันนี้อาจารย์ได้เริ่มกิจกรรมด้วยการเล่นเกมคำคล้องจอง โดยคนแรกให้พูดหนึ่งคำ จะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ถ้าพูดภาษาไทยก่อน คำต่อไปต้องเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าคำแรกเปนภาษาอังกฤษ คำต่อไปก็ต้องเป็นภาษาไทย แล้วคิดคำใหม่ขึ้นมาอีก1คำ เช่น post มด คนที่สองก็พูดว่า รถ car คนที่สามก็อาจจะพูดว่าfat ผีเสื้อ พูดแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ

        รอบที่สองให้พูดคนละ1คำเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมกับความหมาย โดยคนต่อมาต้องคล้องจองกับคนแรก เช่น ดอกไม้ flower คนที่สองก็พูดว่า เธอ you คนที่สามก็บอกว่า ปู crab ไปเรื่อยๆจนครบ

ต่อมาอาจารย์ได้แบ่งทั้งห้องออกเป็น2กลุ่ม และได้มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม มีหัวข้อดังนี้
1.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
2.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์

แนวคิด 

พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นจากตัวเด็กเอง โดยมีสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเป็นตัวส่งเสริม

หลักการ  ประกอบด้วย 4 ลักษณะ

1.แรงจูงใจในการเรียนรู้
2.โครงสร้างของเนื้อหา
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง
4.การเสริมแรง
ลำดับขั้นพัฒนาการ
1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) เรียนรู้จากการกระทำและประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ขั้นจินตนาการ (Iconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ ตามความเป็นจริงและคิดจินตนาการ
3.ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ต่างๆ เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
1.ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจ
2.โครงสร้างบทเรียนมีความเหมาะสม
3.การจัดลำดับจากง่ายไปหายาก
4.การเสริมแรงของผู้เรียน
สรุป ทุกคนมีพัฒนาการและการเรียนรู้ ผ่านขั้นความคิด 3 ขั้น ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ความหมาย การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะเป็นไปตามวัยอย่างเป็นลำดับขั้น ไม่ควรเร่งพัฒนาการเด็ก
ความสำคัญ ความเข้าใจในธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก มากกว่าการกระตุ้นเด็กให้เกิดพัฒนาการที่ข้ามขั้น
ลำดับขั้นของพัฒนาการ 1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (เริ่มตั้งแต่แรกเกิด-2ปี) เด็กวัยนี้ชอบเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้มือประสานกับตาได้
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (เริ่มตั้งแต่ 2-7ปี) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ขั้น
-ขั้นก่อนเกิดสังกัป (ช่วงอายุ 2-4ปี) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ได้ แต่ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆยังอยู่ในระดับเบื้องต้น
-ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (ช่วงอายุ 4-7ปี) นึกออกเองโดยไม่ต้องใช้เหตุผล เริ่มมีการพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (อายุ 7-11 ปี) เด็กจะมีความสามารถคิดแบบมีเหตุผล4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (อายุ 11-15 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่




Vocabulary (คำศัพท์)

Enactive Stage : ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ

Iconic Stage : ขั้นจินตนาการ 

Symbolic Stage : ขั้นใช้สัญลักษณ์

Conservation : การอนุรักษ์

Reinforcement : การเสริมแรง


Image result for ของตกแต่งblog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น