Red Bobblehead Bunny

Research

✨สรุปวิจัย✨

เรื่อง การพัฒนาการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัย : นันธิชา ทาภักดี
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พ.ศ. 2558
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
2. เพื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของทะักษะทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
ขอบเขตการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัย ซึ่งกำลีงศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีท่ี่2 โรงเรียนบ้านโสกนาดี ศุนย์เครือข่ายโคกนาแพง สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2557 จำนวน20คน
ตัวแปรที่ใช้ศึกษา
ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ได้แก่ การจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย5ทักษะ คือ การสังเกต การวัด การจำแนก การสื่อความหมาย การพยากรณ์
ระยะเวลาในการวิจัย
ทำการวิจัยในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2557 พัฒนาทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการพยากรณ์ เด็กชั้นอนุบาลปีที่2 จำนวน3สัปดาห์ สัปดาห์ละ5วัน วันละ1ครั้ง ครั้งละ30นาที รวมเวลา15วัน


"ตัวอย่างแผนการสอน"

"ตัวอย่างแบบทดสอบทักษะทางวิทยาศาสตร์"
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น